สนามบินสุวรรณภูมิ
Thaksin Shinawatra (The Story Ep.6)
เริ่มยุคสฤษดิ์ สำเร็จยุคทักษิณ
“หลักการของผม ผมชอบทำในสิ่งที่ near impossible แต่ทำให้มัน possible ถ้าไม่เช่นนั้นมันจะเสียเวลาประเทศมาก และเสียโอกาสประเทศ เพราะการจะแย่งกันเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย”
คือ ถ้อยคำส่วนหนึ่งของ ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) แถลงข่าวเที่ยวบินพิเศษทดสอบระบบสนามบินสุวรรภูมิ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548
จากวันนั้น 28 กันยายน พ.ศ. 2549
ที่ “สนามบินสุวรรณภูมิ”
เปิดให้บริการการบินเชิงพาณิชย์ครั้งแรก
จนถึงวันนี้ สนามบินที่เป็นความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ แต่ก่อนที่จะมาถึงวันนี้ มีเรื่องราวมากมาย ผ่านร้อนผ่านหนาว และผ่านมาแล้วหลายรัฐบาล หลายนายกรัฐมนตรี
ย้อนกลับไป “สนามบินสุวรรณภูมิ”
มีแนวคิดจะก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ภายใต้รัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเดินตามแผนงานของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หรือที่เรียกว่า “สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ” ประกอบกับความสัมพันธ์อันดีกับชาติตะวันตก จึงได้มีการปรึกษาหารือกับบริษัทต่างชาติอย่าง บริษัทลิตช์ฟีลด์ และสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้แนะนำว่า ถึงเวลาแล้วที่กรุงเทพมหานคร ควรมีสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2นับจากนั้น รัฐบาลใช้เวลาเวนคืนและจัดซื้อที่ดิน จากตำบลหนองปรือ ตำบลบางโฉลง และตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มากถึง 14 ปี หมู่บ้านหายไป 7 หมู่บ้านครึ่ง พร้อมจ่ายเงินให้ครอบครัวละ 800,000 บาท รวมถึงสร้างพื้นที่แห่งใหม่ให้แก่ชาวบ้านเหล่านั้น
อย่างไรก็ดี รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ให้สัมปทานแก่ บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2519 สัมปทานของบริษัทดังกล่าวก็ถูกยกเลิกไป จนกาลเวลาล่วงเลยมาถึงยุครัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน ได้มอบหมายให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ในปัจจุบัน) เป็นผู้ดำเนินการสร้างท่าอากาศยานแห่งนี้แทน ในพ.ศ. 2534
ต่อมาใน พ.ศ. 2535 รัฐบาล ชวน หลีกภัย มีความพยายามดำเนินการตามแผนจากรัฐบาลเดิม พร้อมอนุมัติงบประมาณ 120,000 ล้านบาท สำหรับการอพยพโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่เวนคืน ถึงอย่างนั้น ประเทศไทยก็ประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ส่งผลให้การก่อสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 ของกรุงเทพฯ ชะงักงันอีกครั้ง
ก่อนจะกลับเข้าสู่แผนเดิม... ในยุคของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
ที่ชนะการเลือกตั้งและเข้ามาเป็นรัฐบาลในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งมีนโยบายหลักคือ แก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ควบคู่กับการฟื้นฟูและผลักดันให้ประเทศไทยมีความทัดเทียมในการแข่งขันบนตลาดเกิดใหม่ (emerging market) เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ
“ผมก็นั่งคิด เนื่องจากเรายังไม่พ้นวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อ ก.ค. 40 แต่ถ้าเรากลัว ไม่ได้กู้เงิน เราก็ต้องสร้างสนามบินที่แพงเกินจริงและรองรับผู้โดยสารได้น้อยเกินไป เพราะจะสร้างใหม่ทั้งที อุตส่าห์รอกันมาตั้ง 40 ปี ขณะนั้นผมอ่านออกว่าทูตญี่ปุ่นกลัวว่าประกวดราคาใหม่บริษัทญี่ปุ่นจะไม่ชนะประมูล เรื่องการไม่ให้กู้เงินคงจะไม่จริง
“ผมก็เลยบอกไปว่าผมจำเป็นต้องยกเลิกการประมูลและแก้แบบใหม่ให้รองรับผู้โดยสารจาก 35 ล้านคนเป็น 45 ล้านคน ถ้าญี่ปุ่นไม่ให้กู้ก็ไม่เป็นไร ผมใช้เงินแบงค์กรุงไทยกับแบงค์ออมสินก็ได้ ผมก็เลิกการประมูล แก้แบบเป็น 45 ล้านคน และให้มีการประมูลใหม่
ผลปรากฏว่าราคาลดลงจาก 54,000 ล้านบาท เป็น 36,666 ล้านบาท ประหยัดไป 17,000 ล้านบาทเศษ พร้อมกับรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก 10 ล้านคน จาก 35 เป็น 45 ล้านคน ซึ่งขนาดเพิ่มแล้ววันนี้ หลังจากเปิดไม่กี่ปีก็เต็มแล้ว ทั้งๆ ที่ไปใช้ (สนามบิน) ดอนเมืองด้วย” คือข้อความส่วนหนึ่งจาก ‘Me and My Country: เบื้องหลังการเจรจากับญี่ปุ่นในการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ’ โดย ทักษิณ ชินวัตร วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556
รัฐบาลทักษิณ มีความพยายามจะใช้หนี้ IMF ให้หมด
โดยไม่ทิ้งโครงการเมกะโปรเจกต์อย่างสนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ประเทศไทยเริ่มกลับมามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น กล่าวคือ นักลงทุนสนใจมาลงทุน นักท่องเที่ยวต่างชาติให้ความสนใจมาท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น ผ่านการผลักดันนโยบายท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘ครัวไทยสู่ครัวโลก’ หรือ ‘กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น’ เป็นต้น
ถึงอย่างนั้น ตลอดระยะเวลาการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งจากแวดวงนักวิชาการ สื่อ หรือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่สร้างเรื่องกล่าวหาเพื่อโจมตีต่างๆ นานา ตั้งแต่ปัญหาในการก่อสร้าง การทุจริต หรือแม้แต่การสร้างเรื่องลี้ลับอย่าง ข่าวลือเสาผีสิง หรือการก่อสร้างสนามบินทับสุสานและสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา เป็นต้น
ถึงอย่างนั้น ตลอดระยะเวลาการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งจากแวดวงนักวิชาการ สื่อ หรือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่สร้างเรื่องกล่าวหาเพื่อโจมตีต่างๆ นานา ตั้งแต่ปัญหาในการก่อสร้าง การทุจริต หรือแม้แต่การสร้างเรื่องลี้ลับอย่าง ข่าวลือเสาผีสิง หรือการก่อสร้างสนามบินทับสุสานและสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้สนามบินสุวรรณภูมิจะมีประวัติศาสตร์ซ่อนไว้ข้างหลังมากมายเพียงใด แต่ 16 ปีที่ผ่านมา ประชาชนทั้งชาวไทยและนานาชาติแวะเวียนใช้บริการไม่ขาดสาย สร้างการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยอย่างมหาศาล
สนามบินสุวรรณภูมิยังกลายเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ ล่าสุด สถิติปี พ.ศ. 2562 ก่อนวิกฤตการณ์โควิด สนามบินสุวรรณภูมิ มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก 65,421,844 ราย และมีจำนวนสินค้าทางอากาศยานมากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก
ข้อมูลจาก : https://ptp.or.th/archives/18405